พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พรานบุญรุ่นแรก ...
พรานบุญรุ่นแรก หลวงปู่แก้ว ธัมมาราโม วัดสะพานไม้แก่น (เจ้าแห่งอาคมขลัง และอารมณ์ขัน)
พรานบุญรุ่นแรก หลวงปู่แก้ว ธัมมาราโม วัดสะพานไม้แก่น
/ หน้าพรานใหญ่ เนื้อชนวน หน้าแดง
/ วาระแรก พ่อแก่เจ้าแสงอธิษฐานจิต
/ วาระ๒ พ่อท่านแก้วอธิษฐานจิต


พรานบุญ เจ้าแห่งอาคมขลัง และอารมณ์ขัน
เมื่อทำการสำรวจข้อมูลของดีของทางภาคใต้ ประเทศไทย จะพบว่าถ้าเป็นของดีกลุ่มที่เป็นจำพวกเครื่องรางของขลังที่มีพลานุภาพด้านเมตตามหานิยมหรือเรียกทรัพย์ ชื่อของ “ไอ้ไข่ วัดเจดีย์” จะคุ้นหูชาวมูสมัยนี้เป็นที่สุด และถ้าเป็นคนในพื้นที่จะทราบว่า “(หน้ากาก) พรานบุญที่วัดยางใหญ่” ก็เป็นของดีที่มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน ทั้งยังเป็นของที่มีในจังหวัดนครศรีธรรมราชเหมือนกันด้วย เรียกว่าบูชาไอ้ไข่แล้วไปบูชาพรานบุญต่อก็จะได้อานิสงส์เมตตาแก่กล้าขึ้นไปอีก

“พรานบุญ” ในที่นี้จะอยู่ในรูปของหน้ากาก เป็นหน้ากากทำด้วยไม้ รูปใบหน้าชายสูงวัย มีจมูกงุ้มยื่นยาว ใช้ขนเป็ดสีขาวเอามาติดที่ศีรษะให้ดูเป็นผมหงอก ใต้คางส่วนที่น่าจะเป็นเคราตกแต่งด้วยผ้าสีขาวร้อยด้วยสร้อยลูกปัดยาวหลากสี พื้นผิวใบหน้าสีแดงสด คิ้ว ลูกตา และหนวดสีดำ ผมสีขาว ฟันบนเลี่ยมทองที่ 2 ซี่กลาง



หน้ากากพรานบุญ จัดแสดงที่นิทรรศการ “หน้ากากมนุษย์” ชั้น 2 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

บทบาทของพรานบุญ

สำหรับเด็กไทยที่เคยเรียนวรรณคดีมาจะรู้จัก “พรานบุญ” ว่าเป็นนายพรานในวรรณคดีเรื่อง พระสุธน-มโนห์รา นิทานพื้นบ้านที่มีเค้าโครงเรื่องมาจากชาดกเรื่อง สุธนชาดก ชาดกย่อยเรื่องหนึ่งใน ปัญญาสชาดก

พรานบุญ ซึ่งในเรื่องจะชื่อ พรานบุณฑริก ชาวเมืองปัญจาลนคร ได้เข้าไปล่าสัตว์ในป่าลึก พบกลุ่มนางกินนรสวยงามเป็นพี่น้องกันเจ็ดตนมาลงเล่นน้ำที่สระอโนดาต นายพรานแอบเก็บปีกและหางของนางกินนรไว้หนึ่งชุด เมื่อนางกินนรทั้งเจ็ดเล่นน้ำเสร็จก็กลับขึ้นมาใส่ปีกใส่หาง นางมโนห์ราน้องสาวคนสุดท้องหาปีกและหางของตนไม่พบจึงไม่สามารถบินกลับได้ พี่ ๆ ทั้งหกก็จำต้องทิ้งนางไป เมื่อเห็นนางกินนรเหลืออยู่ตนเดียวดังนั้น พรานบุณฑริกจึงนำบ่วงนาคบาศมาคล้องนางไว้แล้วนำไปถวายพระสุธน พระสุธนยินดีมากจึงประทานทองคำและแก้วแหวนเงินทองให้แก่นายพราน พระเจ้าอาทิตยวงศ์ กษัตริย์แห่งเมืองปัญจาลนคร และนางจันทราเทวี พระมเหสี ก็ได้จัดงานอภิเษกสมรสให้พระสุธนกับนางมโนห์รา … เนื้อเรื่องยังมีต่อจากนี้ แต่ผู้เขียนขอตัดมาเฉพาะตอนที่มีบทของพรานบุญ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไร (เนื้อเรื่องฉบับเต็มสามารถอ่านได้ที่ พระสุทนต์ - มโนรา เล่มที่ 2 ฐานข้อมูลหนังสือเก่าชาวสยาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)1)

บทบาทของพรานบุญยังมีการกล่าวถึงในอีกหลาย ๆ สำนวน อย่างในบทละครครั้งกรุงเก่าเรื่องนางมโนราห์ ซึ่งเป็นวรรณคดีประกอบการแสดงละครนอกสมัยอยุธยาแต่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ หอสมุดวชิรญาณได้ตรวจสอบชำระต้นฉบับดังกล่าวที่มีอยู่เพียง 1 ตอน คือ ตอนนางมโนราห์ถูกจับไปถวายพระสุธน และจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2462 บทละครเรื่องนี้แต่งเป็นกลอนบทละคร คือ ตอนนางมโนราห์ถูกจับไปถวายพระสุธน บางตอนมีลักษณะเป็นกาพย์ตามรูปแบบการแสดง “โนราห์” ของภาคใต้ ในฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย ที่เผยแพร่โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้บรรยายเนื้อเรื่องไว้โดยสังเขป ดังนี้

“เนื้อเรื่องเริ่มตั้งแต่นางเทพกินรี มเหสีท้าวทุมพร เจ้าเมืองกินรา พระมารดาของนางมโนราห์ฝันและโหรทำนายฝันว่านางมโนราห์ พระธิดาองค์ที่ 7 ซึ่งเป็นองค์สุดท้องกำลังเคราะห์ร้าย ห้ามไปเล่นน้ำที่สระ นางมโนราห์ไม่เชื่อฟัง นางเทพกินรีจึงยึดปีกหางมาเก็บไว้ แต่นางมโนราห์กับพี่ ๆ ก็ขโมยปีกหางมาได้ และพากันไปเล่นน้ำในสระ แม้นางมโนราห์จะระแวงภัยในตอนแรก แต่ในที่สุดก็ยอมถอดปีกถอดหาง ลงเล่นน้ำตามคำชวนของพี่ ๆ ฝ่ายพรานบุญซึ่งมาคอยซุ่มดูอยู่ ก็ใช้บ่วงนาคบาศโยนลงไปเป็นงูรัดเท้านางมโนราห์ไว้ พี่ ๆ ทั้ง 6 นางไม่สามารถช่วยได้ จึงสวมปีกหางบินหนีกลับเมืองไปทูลเรื่องราวแก่พระบิดาและพระมารดา นางมโนราห์พยายามอ้อนวอนและหลอกล่อพรานบุญให้คืนปีกหางของนางแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อจากนั้นพรานบุญก็พานางไปถวายพระสุธน ระหว่างทางนางสำนึกถึงความผิดที่ไม่เชื่อฟังคำตักเตือนของพระมารดา ต้นฉบับจบเพียงเท่านี้"2

อีกตำนานที่เกี่ยวข้องกับพรานบุญจะว่าด้วยเรื่องราวก่อนไปคล้องนางกินนร คือตอนที่พรานบุญได้ไปขอหยิบยืมบ่วง “นาคบาศ” จากพญานาคราชนามว่า ท้าวชมพูจิต ซึ่งเดิมเป็นศรของอินทรชิตที่ยิงไปกลายเป็นงูรัด พญานาคราชก็ให้มาแต่โดยดี แม้ว่ากลัวจะให้ไปแล้วจะไม่ได้คืน แต่เพราะได้ให้คำมั่นสัญญาเอาไว้เมื่อครั้งได้รับความช่วยเหลือจากพรานบุญจนรอดพ้นจากความตายว่า “ขออะไรก็จะให้” บ่วงอันนี้เองที่ใช้คล้องนางมโนราห์มาได้ ผู้คนจึงต่างนับถือในความสามารถของพรานบุญว่ามีอาคมขลังและโดดเด่นในทางโชคลาภและโภคทรัพย์ยิ่งนัก ครั้งหนึ่งพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี ได้กล่าวกับลูกศิษย์ว่า

“ไม่มีการค้าใดหรือทำสิ่งได้จะได้ผลตอบแทนมากเท่าพรานบุญ เพราะพรานบุญจับนางมโนราห์ได้เพียงนางเดียว เช้าวันรุ่งขึ้นก็ได้รับบำเหน็จจากกษัตริย์ ครองเมือง 1 เมืองพร้อมทรัพย์สมบัติและบริวารมากมาย”

ด้วยเหตุนี้ ในเรื่องของความเชื่อ ผู้คนต่างให้ความเคารพนับถือพรานบุญ เชื่อว่าเมื่อบูชาแล้วจะได้รับอานิสงส์ เช่น ค้าขายดี มีเสน่ห์ต่อคนรอบข้าง มีเมตตามหานิยม ใครเห็นก็รักใคร่เอ็นดู อีกทั้งยังช่วยปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากอันตรายและอาถรรพ์คุณไสยต่าง ๆ อีกด้วย

พรานบุญในวงมโนราห์

มโนราห์ หรือ โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมของคนในภาคใต้ โนรามีการแสดง 2 รูปแบบ คือ โนราประกอบพิธีกรรม (โนราโรงครู) และโนราเพื่อความบันเทิง ซึ่งมีความแตกต่างกัน

โนราประกอบพิธีกรรมหรือโนราโรงครู เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญในวงการโนราเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพิธีกรรมเพื่อเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายังโรงพิธี เพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายของโนรา เพื่อรับของแก้บน และเพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่ ส่วนโนราเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงเพื่อให้ความบันเทิงโดยตรง ประกอบด้วยการรำ การร้อง การทำบท การรำเฉพาะอย่าง และการเล่นเป็นเรื่อง

ส่วนของการแสดงโนราที่เป็นงานบันเทิงทั่ว ๆ ไป ในแต่ละครั้ง แต่ละคณะจะมีลำดับการแสดงตามขนบนิยม โดยเริ่มจาก (1) ปล่อยตัวนางรำออกรำ (2) ออกพราน หรือ ออกตัวตลก (3) ออกตัวนายโรง (4) ออกพรานอีกครั้ง เพื่อบอกว่าต่อไปจะเล่นเป็นเรื่อง และจะเล่นเรื่องอะไร จากนั้นจึงเล่นเป็นเรื่อง

จะเห็นว่ามีการออกพรานถึง 2 ครั้ง เพราะพรานเป็นตัวตลก เมื่อออกมาแล้วคนดูจะหัวเราะ เป็นที่รักของคนดูทุกเพศทุกวัย มีความสำคัญในการสร้างบรรยากาศให้ครึกครื้นซึ่งจะขาดเสียมิได้ ทั้งยังทำหน้าที่นำผู้ชมสู่ฉากการแสดงและประกาศให้รู้ถึงตอนต่อไป

ในดินแดนภาคใต้ของไทยนั้น การแสดงมโนราห์หรือที่นิยมเรียกกันว่า โนรา ถือเป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่สำคัญ เป็นดั่งชีวิตจิตใจและจิตวิญญาณของชาวใต้ เป็นศิลปะด้านนาฏยศาสตร์ที่จำเป็นต้องมีครูถ่ายทอดสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น พรานบุญก็นับเป็นครูโนราที่สำคัญผู้หนึ่ง เพราะเป็นตัวตลกในเรื่องมโนราห์ เมื่อออกรำจะต้องสวมหน้ากากพราน ท่ารำของพรานนั้นจะเป็นท่ารำที่ตลก ไม่มีท่ารำที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความสามารถของพรานแต่ละคน และจะต้องมีท่ารำพื้นฐาน เช่น ย่อตัวรำ หลังแอ่น ยื่นอกไปด้านหน้ามาก ๆ ทั้งยังท่ามีแปลก ๆ ออกไป เช่น ทำให้ท้องป่องผิดปกติ อาจจะป่องไปด้านซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หรือทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเคลื่อนไหวเป็นลอนคลื่น เป็นต้น ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะแสดงได้ เมื่อออกมาแสดงก็จะเรียกเสียงหัวเราะอย่างมีความสุขจากผู้ชมได้เสมอทุกเพศทุกวัยไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ และไม่ว่าจะแสดงกี่ครั้งก็ตาม

การบูชาหน้ากากพรานบุญ

สำหรับใครที่ต้องการจะบนบานกับพรานบุญ สิ่งที่จะบนก็มีเพียงแค่ ผ้าขาวม้า 1 ผืน กับเหล้าขาว 1 ขวด ก่อนใช้หน้ากากมโนราห์ให้อาราธนาด้วยคาถา 3 บทนี้

บท 1 คาถาบูชาพรานบุญ

นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

นะ ชา ลี ติ ออ อา ออ แอ รึก รือ ลึก ลือ ชัยยะ ชัยยะ สิริโภคานะมาสะโย

บท 2 เทวดาให้เงิน

โอม นะมา มีมา นะ เน นุ นิ นะ สวาหะ สวาโหม

บท 3 คาถาเมตตา

ออ อา สะเน่หามนุสสะจิตติ ออ อา สะเน่หามนุสสะจิตตัง ออ อา มูลละพะลัง ออ อาพุทธานะมามิหัง

ผู้เข้าชม
207 ครั้ง
ราคา
800
สถานะ
มาใหม่
โดย
ชื่อร้าน
พลศรีทองพระเครื่อง2 ( บู เชียงราย )
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
busoftware52
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ว.ศิลป์สยามkaew กจ.vanglannaponsrithong2ponsrithongยุ้ย พลานุภาพ
เทพจิระศักดา พระเครื่องsomphopTUI789mosnarokมนต์เมืองจันท์
TotoTatoเจริญสุขพีพีพระสมเด็จnatthanetLeksoi8อ้วนโนนสูง
ภูมิ IRหมี คุณพระช่วยNithipornแมวดำ99ErawanPutput
tangmoอาร์ตกำแพงเพชรจิ๊บพุทธะมงคลศิษย์บูรพาเปียโนjazzsiam amulet

ผู้เข้าชมขณะนี้ 719 คน

เพิ่มข้อมูล

พรานบุญรุ่นแรก หลวงปู่แก้ว ธัมมาราโม วัดสะพานไม้แก่น (เจ้าแห่งอาคมขลัง และอารมณ์ขัน)



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พรานบุญรุ่นแรก หลวงปู่แก้ว ธัมมาราโม วัดสะพานไม้แก่น (เจ้าแห่งอาคมขลัง และอารมณ์ขัน)
รายละเอียด
พรานบุญรุ่นแรก หลวงปู่แก้ว ธัมมาราโม วัดสะพานไม้แก่น
/ หน้าพรานใหญ่ เนื้อชนวน หน้าแดง
/ วาระแรก พ่อแก่เจ้าแสงอธิษฐานจิต
/ วาระ๒ พ่อท่านแก้วอธิษฐานจิต


พรานบุญ เจ้าแห่งอาคมขลัง และอารมณ์ขัน
เมื่อทำการสำรวจข้อมูลของดีของทางภาคใต้ ประเทศไทย จะพบว่าถ้าเป็นของดีกลุ่มที่เป็นจำพวกเครื่องรางของขลังที่มีพลานุภาพด้านเมตตามหานิยมหรือเรียกทรัพย์ ชื่อของ “ไอ้ไข่ วัดเจดีย์” จะคุ้นหูชาวมูสมัยนี้เป็นที่สุด และถ้าเป็นคนในพื้นที่จะทราบว่า “(หน้ากาก) พรานบุญที่วัดยางใหญ่” ก็เป็นของดีที่มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน ทั้งยังเป็นของที่มีในจังหวัดนครศรีธรรมราชเหมือนกันด้วย เรียกว่าบูชาไอ้ไข่แล้วไปบูชาพรานบุญต่อก็จะได้อานิสงส์เมตตาแก่กล้าขึ้นไปอีก

“พรานบุญ” ในที่นี้จะอยู่ในรูปของหน้ากาก เป็นหน้ากากทำด้วยไม้ รูปใบหน้าชายสูงวัย มีจมูกงุ้มยื่นยาว ใช้ขนเป็ดสีขาวเอามาติดที่ศีรษะให้ดูเป็นผมหงอก ใต้คางส่วนที่น่าจะเป็นเคราตกแต่งด้วยผ้าสีขาวร้อยด้วยสร้อยลูกปัดยาวหลากสี พื้นผิวใบหน้าสีแดงสด คิ้ว ลูกตา และหนวดสีดำ ผมสีขาว ฟันบนเลี่ยมทองที่ 2 ซี่กลาง



หน้ากากพรานบุญ จัดแสดงที่นิทรรศการ “หน้ากากมนุษย์” ชั้น 2 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

บทบาทของพรานบุญ

สำหรับเด็กไทยที่เคยเรียนวรรณคดีมาจะรู้จัก “พรานบุญ” ว่าเป็นนายพรานในวรรณคดีเรื่อง พระสุธน-มโนห์รา นิทานพื้นบ้านที่มีเค้าโครงเรื่องมาจากชาดกเรื่อง สุธนชาดก ชาดกย่อยเรื่องหนึ่งใน ปัญญาสชาดก

พรานบุญ ซึ่งในเรื่องจะชื่อ พรานบุณฑริก ชาวเมืองปัญจาลนคร ได้เข้าไปล่าสัตว์ในป่าลึก พบกลุ่มนางกินนรสวยงามเป็นพี่น้องกันเจ็ดตนมาลงเล่นน้ำที่สระอโนดาต นายพรานแอบเก็บปีกและหางของนางกินนรไว้หนึ่งชุด เมื่อนางกินนรทั้งเจ็ดเล่นน้ำเสร็จก็กลับขึ้นมาใส่ปีกใส่หาง นางมโนห์ราน้องสาวคนสุดท้องหาปีกและหางของตนไม่พบจึงไม่สามารถบินกลับได้ พี่ ๆ ทั้งหกก็จำต้องทิ้งนางไป เมื่อเห็นนางกินนรเหลืออยู่ตนเดียวดังนั้น พรานบุณฑริกจึงนำบ่วงนาคบาศมาคล้องนางไว้แล้วนำไปถวายพระสุธน พระสุธนยินดีมากจึงประทานทองคำและแก้วแหวนเงินทองให้แก่นายพราน พระเจ้าอาทิตยวงศ์ กษัตริย์แห่งเมืองปัญจาลนคร และนางจันทราเทวี พระมเหสี ก็ได้จัดงานอภิเษกสมรสให้พระสุธนกับนางมโนห์รา … เนื้อเรื่องยังมีต่อจากนี้ แต่ผู้เขียนขอตัดมาเฉพาะตอนที่มีบทของพรานบุญ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไร (เนื้อเรื่องฉบับเต็มสามารถอ่านได้ที่ พระสุทนต์ - มโนรา เล่มที่ 2 ฐานข้อมูลหนังสือเก่าชาวสยาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)1)

บทบาทของพรานบุญยังมีการกล่าวถึงในอีกหลาย ๆ สำนวน อย่างในบทละครครั้งกรุงเก่าเรื่องนางมโนราห์ ซึ่งเป็นวรรณคดีประกอบการแสดงละครนอกสมัยอยุธยาแต่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ หอสมุดวชิรญาณได้ตรวจสอบชำระต้นฉบับดังกล่าวที่มีอยู่เพียง 1 ตอน คือ ตอนนางมโนราห์ถูกจับไปถวายพระสุธน และจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2462 บทละครเรื่องนี้แต่งเป็นกลอนบทละคร คือ ตอนนางมโนราห์ถูกจับไปถวายพระสุธน บางตอนมีลักษณะเป็นกาพย์ตามรูปแบบการแสดง “โนราห์” ของภาคใต้ ในฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย ที่เผยแพร่โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้บรรยายเนื้อเรื่องไว้โดยสังเขป ดังนี้

“เนื้อเรื่องเริ่มตั้งแต่นางเทพกินรี มเหสีท้าวทุมพร เจ้าเมืองกินรา พระมารดาของนางมโนราห์ฝันและโหรทำนายฝันว่านางมโนราห์ พระธิดาองค์ที่ 7 ซึ่งเป็นองค์สุดท้องกำลังเคราะห์ร้าย ห้ามไปเล่นน้ำที่สระ นางมโนราห์ไม่เชื่อฟัง นางเทพกินรีจึงยึดปีกหางมาเก็บไว้ แต่นางมโนราห์กับพี่ ๆ ก็ขโมยปีกหางมาได้ และพากันไปเล่นน้ำในสระ แม้นางมโนราห์จะระแวงภัยในตอนแรก แต่ในที่สุดก็ยอมถอดปีกถอดหาง ลงเล่นน้ำตามคำชวนของพี่ ๆ ฝ่ายพรานบุญซึ่งมาคอยซุ่มดูอยู่ ก็ใช้บ่วงนาคบาศโยนลงไปเป็นงูรัดเท้านางมโนราห์ไว้ พี่ ๆ ทั้ง 6 นางไม่สามารถช่วยได้ จึงสวมปีกหางบินหนีกลับเมืองไปทูลเรื่องราวแก่พระบิดาและพระมารดา นางมโนราห์พยายามอ้อนวอนและหลอกล่อพรานบุญให้คืนปีกหางของนางแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อจากนั้นพรานบุญก็พานางไปถวายพระสุธน ระหว่างทางนางสำนึกถึงความผิดที่ไม่เชื่อฟังคำตักเตือนของพระมารดา ต้นฉบับจบเพียงเท่านี้"2

อีกตำนานที่เกี่ยวข้องกับพรานบุญจะว่าด้วยเรื่องราวก่อนไปคล้องนางกินนร คือตอนที่พรานบุญได้ไปขอหยิบยืมบ่วง “นาคบาศ” จากพญานาคราชนามว่า ท้าวชมพูจิต ซึ่งเดิมเป็นศรของอินทรชิตที่ยิงไปกลายเป็นงูรัด พญานาคราชก็ให้มาแต่โดยดี แม้ว่ากลัวจะให้ไปแล้วจะไม่ได้คืน แต่เพราะได้ให้คำมั่นสัญญาเอาไว้เมื่อครั้งได้รับความช่วยเหลือจากพรานบุญจนรอดพ้นจากความตายว่า “ขออะไรก็จะให้” บ่วงอันนี้เองที่ใช้คล้องนางมโนราห์มาได้ ผู้คนจึงต่างนับถือในความสามารถของพรานบุญว่ามีอาคมขลังและโดดเด่นในทางโชคลาภและโภคทรัพย์ยิ่งนัก ครั้งหนึ่งพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี ได้กล่าวกับลูกศิษย์ว่า

“ไม่มีการค้าใดหรือทำสิ่งได้จะได้ผลตอบแทนมากเท่าพรานบุญ เพราะพรานบุญจับนางมโนราห์ได้เพียงนางเดียว เช้าวันรุ่งขึ้นก็ได้รับบำเหน็จจากกษัตริย์ ครองเมือง 1 เมืองพร้อมทรัพย์สมบัติและบริวารมากมาย”

ด้วยเหตุนี้ ในเรื่องของความเชื่อ ผู้คนต่างให้ความเคารพนับถือพรานบุญ เชื่อว่าเมื่อบูชาแล้วจะได้รับอานิสงส์ เช่น ค้าขายดี มีเสน่ห์ต่อคนรอบข้าง มีเมตตามหานิยม ใครเห็นก็รักใคร่เอ็นดู อีกทั้งยังช่วยปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากอันตรายและอาถรรพ์คุณไสยต่าง ๆ อีกด้วย

พรานบุญในวงมโนราห์

มโนราห์ หรือ โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมของคนในภาคใต้ โนรามีการแสดง 2 รูปแบบ คือ โนราประกอบพิธีกรรม (โนราโรงครู) และโนราเพื่อความบันเทิง ซึ่งมีความแตกต่างกัน

โนราประกอบพิธีกรรมหรือโนราโรงครู เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญในวงการโนราเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพิธีกรรมเพื่อเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายังโรงพิธี เพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายของโนรา เพื่อรับของแก้บน และเพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่ ส่วนโนราเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงเพื่อให้ความบันเทิงโดยตรง ประกอบด้วยการรำ การร้อง การทำบท การรำเฉพาะอย่าง และการเล่นเป็นเรื่อง

ส่วนของการแสดงโนราที่เป็นงานบันเทิงทั่ว ๆ ไป ในแต่ละครั้ง แต่ละคณะจะมีลำดับการแสดงตามขนบนิยม โดยเริ่มจาก (1) ปล่อยตัวนางรำออกรำ (2) ออกพราน หรือ ออกตัวตลก (3) ออกตัวนายโรง (4) ออกพรานอีกครั้ง เพื่อบอกว่าต่อไปจะเล่นเป็นเรื่อง และจะเล่นเรื่องอะไร จากนั้นจึงเล่นเป็นเรื่อง

จะเห็นว่ามีการออกพรานถึง 2 ครั้ง เพราะพรานเป็นตัวตลก เมื่อออกมาแล้วคนดูจะหัวเราะ เป็นที่รักของคนดูทุกเพศทุกวัย มีความสำคัญในการสร้างบรรยากาศให้ครึกครื้นซึ่งจะขาดเสียมิได้ ทั้งยังทำหน้าที่นำผู้ชมสู่ฉากการแสดงและประกาศให้รู้ถึงตอนต่อไป

ในดินแดนภาคใต้ของไทยนั้น การแสดงมโนราห์หรือที่นิยมเรียกกันว่า โนรา ถือเป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่สำคัญ เป็นดั่งชีวิตจิตใจและจิตวิญญาณของชาวใต้ เป็นศิลปะด้านนาฏยศาสตร์ที่จำเป็นต้องมีครูถ่ายทอดสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น พรานบุญก็นับเป็นครูโนราที่สำคัญผู้หนึ่ง เพราะเป็นตัวตลกในเรื่องมโนราห์ เมื่อออกรำจะต้องสวมหน้ากากพราน ท่ารำของพรานนั้นจะเป็นท่ารำที่ตลก ไม่มีท่ารำที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความสามารถของพรานแต่ละคน และจะต้องมีท่ารำพื้นฐาน เช่น ย่อตัวรำ หลังแอ่น ยื่นอกไปด้านหน้ามาก ๆ ทั้งยังท่ามีแปลก ๆ ออกไป เช่น ทำให้ท้องป่องผิดปกติ อาจจะป่องไปด้านซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หรือทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเคลื่อนไหวเป็นลอนคลื่น เป็นต้น ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะแสดงได้ เมื่อออกมาแสดงก็จะเรียกเสียงหัวเราะอย่างมีความสุขจากผู้ชมได้เสมอทุกเพศทุกวัยไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ และไม่ว่าจะแสดงกี่ครั้งก็ตาม

การบูชาหน้ากากพรานบุญ

สำหรับใครที่ต้องการจะบนบานกับพรานบุญ สิ่งที่จะบนก็มีเพียงแค่ ผ้าขาวม้า 1 ผืน กับเหล้าขาว 1 ขวด ก่อนใช้หน้ากากมโนราห์ให้อาราธนาด้วยคาถา 3 บทนี้

บท 1 คาถาบูชาพรานบุญ

นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

นะ ชา ลี ติ ออ อา ออ แอ รึก รือ ลึก ลือ ชัยยะ ชัยยะ สิริโภคานะมาสะโย

บท 2 เทวดาให้เงิน

โอม นะมา มีมา นะ เน นุ นิ นะ สวาหะ สวาโหม

บท 3 คาถาเมตตา

ออ อา สะเน่หามนุสสะจิตติ ออ อา สะเน่หามนุสสะจิตตัง ออ อา มูลละพะลัง ออ อาพุทธานะมามิหัง

ราคาปัจจุบัน
800
จำนวนผู้เข้าชม
208 ครั้ง
สถานะ
มาใหม่
โดย
ชื่อร้าน
พลศรีทองพระเครื่อง2 ( บู เชียงราย )
URL
เบอร์โทรศัพท์
0639695995
ID LINE
busoftware52
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี